เมนู

ความไม่มีโทษ และการอยู่เป็นสุข เป็นองค์ 1
ในการบริโภคอาหารนี้ เป็นอานิสงส์แห่งการบริโภคโภชนะ.

พระมหาสิวเถระจัดองค์ไว้ 8


ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าว องค์ 4 ข้างต้น ชื่อว่าเป็นข้อห้ามรวน
เป็นองค์ 1 พึงประมวลองค์ 8 เบื้องปลายมา ในองค์ 8 เบื้องปลายนั้น ข้อว่า
เพียงให้กายนี้ดำรงอยู่ จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป
จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิว จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า เพื่อประพฤติ
พรหมจรรย์ จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า ด้วยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่า
จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า
ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา จัดเป็นองค์ 1 ข้อว่า ความไม่มีโทษ
จัดเป็นองค์ 1

ก็การอยู่ผาสุกเป็นผลของการบริโภค ดังนี้.
ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารประกอบด้วยองค์ 8 อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการบริโภคอาหาร.
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า การบริโภคด้วยการ
พิจารณาเป็นไปด้วยสามารถการรู้จักประมาณอันควรในการแสวงหา การรับ
และการบริโภคนี้ ชื่อว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภช-
นาหาร).

ว่าด้วยมุฏฐสัจจทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในมุฏฐสัจจทุกะ ต่อไป
บทว่า อสติ (ความระลึกไม่ได้) ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เว้นจากสติ.
บทว่า อนนุสฺสติ อปฺปฏิสฺสติ (ความไม่ตามระลึก ความไม่หวน
ระลึก) นี้ทรงเพิ่มบทด้วยอำนาจอปสรรค.

บทว่า อสรณตา แปลว่า อาการที่ระลึกไม่ได้.
บทว่า อธารณตา (ความไม่ทรงจำ) ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทรงจำ
เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่ทรงจำนั้นถึงตั้งใจจำก็ไม่อาจรักษาไว้ได้.
ที่ชื่อว่า ปิลาปนตา (ความเลื่อนลอย) เพราะอรรถว่า ย่อมเลื่อน
ลอยในอารมณ์ เหมือนกระโหลกน้ำเต้าลอยในน้ำฉะนั้น.
บทว่า ปมุสฺสนตา* (ความหลงลืม) ได้แก่ เพราะไม่มีสติ หรือ
หลงลืมสติ เพราะบุคคลผู้ไม่มีสติหรือหลงลืมสตินั้น ย่อมเป็นดุจกาที่เก็บก้อน
ข้าว และเป็นเช่นกับสุนัขจิ้งจอกที่เก็บก้อนเนื้อ ฉะนั้น.

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสภาวนาพละ ต่อไป
บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิย-
ธรรม.
บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น.
บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น.
บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อย ๆ.
นิทเทสแห่งศีลวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโสรัจจนิทเทส
นิทเทสแห่งทิฏฐิวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับทิฏฐิสัมปทา และนิทเทส
แห่งทิฏฐิสัมปทา พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับนิทเทสแห่งทิฏฐิปาทาน. นิท-
เทสแห่งศีลวิสุทธิเหมือนกับนิทเทสแห่งศีลสัมปทาก็จริง ถึงอย่างนั้น ในนิท-
เทสแห่งศีลสัมปทานั้น พระองค์ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลอันให้ถึงวิสุทธิ ส่วนใน
นิทเทสแห่งศีลวิสุทธินี้ ตรัสศีลอันถึงวิสุทธิ.
* บาลีเป็น สมฺมุสนตา